วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม
 

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ 

เรื่องย่ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมฝรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัยที่ขาดคุณสมบัติของภรรยาที่ดีที่ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป 


เนื้อเรื่องย่อ 
        นายประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยพ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงามจนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจากการคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ทั้งสองถูกคอกันมากนัดเที่ยวเตร่สมาเสมอ จนในที่สุดเกิดได้เสียกันจนแม่อุไรตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องแต่งงานกันบนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไปชอบข่มสามีตอหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาทจนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่า พระยาตระเวนนครจะให้เกียรติเธอราวภรรยาคนสำคัญแต่กลับตาลปัตร ทางรักของแม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์ แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไป ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าบางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้นมิสามารถใช้ได้กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่าจะเยียวยา และบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั้งมี แม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน รื่องราวต่างๆ ได้จบลงด้วยจดหมายฉบับสุดท้ายแต่เพียงเท่านั้น...


ข้อคิดคติธรรมที่ได้จากเรื่อง
   ๑. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนา ความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
   ๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติแล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำ ครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
   ๓. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็วทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น
   ๔. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทา ให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า
   ๕. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสายแต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเอง ให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด